บทที่6 บทสนทนาน้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ

สวัสดีครับพบกับผม arm ภาษาญี่ปุ่นง่ายนิดเดียววันนี้เราจะมาเรียนบทที่สนทนาเวลาเราไปเยี่ยมเพื่อนบ้านของคนญี่ปุ่นกันนะครับ

scan0005

会 話

ほんの きもちです

やまだ いちろう:はい、どなた ですか。
hai    donata  desuga

サントス: 408 の サントス です。
yonzero no santosu desu

……………………………………………………………………………………

サントス:こんにちは、サントスです。
konnichiwa   santosu desu

これから おせわに なります、
korekara   osewani  narimasu

どうぞ よろしく おねがいします。
douzo    yoroshiku  onegaishimasu

 やまだ :こちら こそ よろしく。
kochira  koso  yoroshiku

サントス:あのう、これ、ほんの きもち です。
anou    kore  honno    kimochi desu

やまだ :あ、どうも………….。なんですか。
a   doumo       nandesuga

サントス:コ―ヒ-です。どうぞ。
koohii desu  douzo

やまだ :どうも ありがとう  ございます。
doumo   arigatou   gozaimasu.

น้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ

ยามาดะ อิจิโร   :       ครับ ใครครับ

ซันโทส            :      ผมซันโทส อยู่ห้อง 408 ครับ

……………………………………….

ซันโทส            :       สวัสดีครับ ผมซันโทส

จากนี้ไป หวังว่าคงได้รับความกรุณา

ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ

ยามาดะ             :         เช่นกันครับ ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วย

ซันโทส             :         เอ่อ นี่เป็นน้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ครับ

ยามาดะ             :         ขอบคุณครับ อะไรหรือครับ

ซันโทส             :         กาแฟครับ เชิญครับ

ยามาดะ             :         ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณ みんな の にほんご 1

บทที่5 หลักไวยากรณ์ 1

สวัสดีครับพบกับผม arm ภาษาญี่ปุ่นง่ายนิดเดียววันนี้เราจะมาเรียนหลักไวยากรณ์พื้นฐานคำช่วยต่างกันนะครับ

1.) คำช่วย は

は เป็นคำช่วยที่ชี้ให้เห็นว่า คำนามที่อยู่ข้างหน้าเป็นหัวข้อเรื่องของประโยค เมื่อผู้พูดต้องการจะพูดเรื่องอะไรก็ใช้คำนามนั้นตามด้วย は และตามด้วยประโยคที่ต้องการ

(1) わたしは アームです。       ผม อาร์ม ครับ

      2) です

คำนามใช้ร่วมกับ です ทำหน้าที่เป็นภาคแสดง

です แสดงความหมายการวินิจฉัยหรือลงความเห็นชี้ขาด

です แสดงการพูดที่สุภาพของผู้พูดต่อผู้ฟัง

です จะเปลี่ยนรูปเมื่ออยู่ในประโยคปฏิเสธ หรือเมื่ออยู่ในประโยครูปอดีตกาล

(2)わたしは エンジニアです。                   ผม/ดิฉันเป็นวิศวกร

  1. คำนาม1  は คำนาม2  じゃありません

じゃありませんเป็นรูปปฏิเสธของ です และเป็นรูปที่ใช้พูดในชีวิตประจำวัน แต่ในภาษาเขียนหรือในการกล่าวสุนทรพจน์จะใช้รูปสุภาพคือ では ありません

(3) サントスさんは がくせい じゃ ありません。คุณซันโทสไม่ได้เป็นนักเรียน                                                                                             (では)

 

  1. ประโยค か

1) คำช่วย か

คำช่วย か ใช้เมื่อผู้พูดมีความรู้สึกไม่แน่ใจ หรือ มีความรู้สึกสงสัย ฯลฯ か เป็นคำช่วยที่ใช้เติม                                    ข้างหลังประโยคบอกเล่า หรือประโยคปฏิเสธ เพื่อทำให้ประโยคนั้นเป็นประโยคคำถาม การออกเสียงให้ออกเสียงสูงที่ท้ายประโยค

2) ในการตอบประโยคคำถามให้เลือกใช้ ครับ/ค่ะ หรือ เปล่าครับ/ค่ะ ไม่ใช่ครับ/ค่ะ ดังที่กล่าวมาแล้ว หากใช้ か ไว้ข้างหลังประโยคจะทำให้ประโยคนั้นเป็นรูปคำถาม ลำดับคำในประโยคจะไม่เปลี่ยนแปลง ใช้เมื่อต้องการย้ำให้แน่ใจถึงเนื้อหาในประโยค หากถูกต้องจะตอบรับด้วย し และหากไม่ถูกต้องจะตอบปฏิเสธด้วย いいえ

(4) ミラ-さんは アメリカ-じんですか。คุณมิลเลอร์เป็นชาวอเมริกันใช่ไหม

…はい、アメリカ-じんです。              … ครับ เป็นชาวอเมริกัน

(5) ミラ-さんは せんせい ですか。คุณมิลเลอร์เป็นครูใช่ไหม

…いいえ、せんせい じゃ ありません。…เปล่าครับ ไม่ได้เป็นครู

3) ประโยคคำถามที่มีคำแสดงคำถาม

วางคำแสดงคำถามไว้ที่ใดก็ได้ตามแต่ละจุดประสงค์ที่ต้องการถาม ลำดับในประโยคจะไม่เปลี่ยนแปลง และเติม か เข้าข้างหลังประโยค

(6) あの かたは どなた ですか。คุณคนนั้นคือใคร

… [ あの かたは] ミラ-さんです。..คุณคนนั้นคือคุณมิลเลอร์

      4) คำนาม も

การพรรณนาเกี่ยวกับคำนามที่เป็นหัวข้อเรื่องของเรื่องราวนั้นๆ เมื่อหยิบยกเรื่องราวเดียวกันกับที่เคยกล่าวถึงมาแล้วมาพูดอีกครั้งหนึ่งจะใช้ も แทน は

(7) ミラ-さんは かいしゃいん です。คุณมิลเลอร์เป็นพนักงานบริษัท

グプタ-さんも かいしゃいんです。คุณกุปตะก็เป็นพนักงานบริษัทเหมือนกัน

        5) คำนาม1 の  คำนาม2

の ใช้เชื่อมคำนามกับคำนามโดย คำนาม 1 ทำหน้าที่ขยายคำนาม 2 สำหรับบทเรียนที่ 1 คำนาม1 เป็นต้นสังกัดของคำนาม 2

(8) ミラ-さんは IMC の しゃいんです。คุณมิลเลอร์เป็นพนักงานบริษัทIMC

6) ~ さん

ในภาษาญี่ปุ่นเมื่อจะเรียกผู้ฟัง หรือบุรุษที่ 3 จะเติมคำว่า ~ さん เข้าที่ท้ายชื่อสกุล คำว่า

~ さん ถือเป็นคำพูดที่ให้เกียรติผู้ฟัง ฉะนั้น จะไม่เติมคำนี้กับชื่อตัวผู้พูดเอง

(9) あの かたは ミラ-さんです。         คุณคนนั้นคือคุณมิลเลอร์

โดยปกติเราจะไม่ใช้คำว่า あなた เรียกคู่สนทนา หากรู้ชื่อก็จะเติมคำว่า ~ さん เข้าที่ท้ายชื่อสกุลเมื่อเรียกคู่สนทนา

(10) すずき    :    ミラ-さんは がくせいですか。

ミラ-:    いいえ、かいしゃいん です。

ซูซูกิ            :       คุณมิลเลอร์เป็นนักเรียนใช่ไหม

มิลเลอร์       :      ไม่ใช่ครับ  เป็นพนักงานบริษัท

ขอบคุณ みんな の にほんご 1

บทที่4 มารยาทของคนญี่ปุ่น

สวัสดีครับพบกับผม arm ภาษาญี่ปุ่นง่ายนิดเดียววันนี้เราจะมาเรียนมารยาทของคนญี่ปุ่นกันนะครับเวลาเพื่อนๆไปเที่ยวญี่ปุ่นจะได้ไม่เสียมารยาทเนื่องจากวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทยและญี่ปุ่นไม่เหมือนกัน เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกัน เรามีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ มารยาท ของคนญี่ปุ่น มาฝากเพื่อนๆ ได้ศึกษากันครับ

1 การตรงต่อเวลา
ญี่ปุ่นนั้นเป็นชาติที่ให้ความสำคัญ กับเวลามากเรื่องการตรงต่อเวลาจึงเป็น สิ่งสำคัญอย่างยิ่ง จะคิดว่าสายนิดๆ หน่อยๆ 15 นาที หรือครึ่งชั่วโมงก็ไม่เป็นไรแบบในเมืองไทยนั้นไม่ได้คนญี่ปุ่นในเรื่องการตรงเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

เรื่องน่ารู้ มารยาทของคนญี่ปุ่น

2 การเข้าแถว
ชาวญี่ปุ่นจะเคร่งครัดในเรื่องของกฏระเบียบพอสมควรไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรอขึ้นรถ การซื้อตั๋วรถ แม้แต่การเข้าแถวรอเพื่อเข้าไปรับประทานอาหาร หรือเข้าห้องน้ำสาธารณะ ซึ่งในการเข้าแถว รอเข้าห้องน้ำก็จะต้องรอที่ทางเข้าไม่ยืนรอที่หน้าประตูของห้องน้ำนั้นๆ (ต่างจากคนไทย ไม่รู้ว่าจะกดดันคนกำลังปลดทุกข์อยู่หน้าห้องน้ำทำไม?)

ถอดรองเท้า2

3 รองเท้าหันไปทางด้านประตู
โดยปกติผู้หญิงจะไม่นั่งขัดสมาธิบนพื้น (แตกต่างกัน ไปตามภูมิภาคและอายุ) หากไปร่วมงาน หรือพบปะสังสรรค์ที่ใดแล้วรีบขอตัว กลับในทันทีหรือกลับก่อน?ที่แขกคนสำคัญจะกลับ ถือว่าเป็น

เรื่องน่ารู้ มารยาทของคนญี่ปุ่น

4 มายาทบนรถไฟ และรถสาธารณะ
เวลานั่งในรถไฟก็ไม่จำเป็นที่จะลุกให้คนแก่ คนพิการหรือคนท้องก็ได้เนื่องจากที่ญี่ปุ่น จะมีที่นั่งสำรองสำหรับ บุคคลพวกนี้อยู่แล้ว และก็ห้ามนั่งในที่ที่เขามีไว้สำหรับ คนพวก นี้ไม่เช่นนั้นก็จะโดนคนมองเป็นตาเดียวเลย นอกจากนี้ ห้ามส่งเสียงดัง ถือว่าเป็นการรบกวนผู้โดยสารท่านอื่นๆ

“เป้สะพายกรุณาถือไว้กับมือ หรือวางไว้บนหิ้งตะแกรง” เพราะว่าผู้โดยสารรถไฟบางคนวางของ หรือกระเป๋าไว้ข้างตัวทำให้เปลืองที่นั่ง จึงรณรงค์ให้มีมารยาท ให้ถือเป้ไว้กับตัว หรือไม่ก็วางไว้บนหิ้งตะแกรงที่อยู่เหนือที่นั่ง

โดยปกติหากคนไหนมีสัมภาระหนักๆ หรือเกะกะคนอื่น ก็จะวางไว้บนตะแกรงเหนือที่นั่ง คนญี่ปุ่นไม่ชินกับการถือของให้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอาจถูกคนที่ถือให้เชิดของไปเลย บางคนจึงถือของข้างกายตลอดแม้ว่าจะหนักก็ตาม

มารยาทของการใช้ตะเกียบของชาวญี่ปุ่น

5 มารยาทในการรับประทานอาหาร

  • ห้ามปักตะเกียบลงในแนวดิ่งไปในถ้วยข้าว เพราะจะคล้ายกับการปักธูปไหว้ศพ
  • ห้ามส่งอาหารจากตะเกียบสู่ตะเกียบ เพราะว่าคนญี่ปุ่นจะใช้ตะเกียบ คีบกระดูก ที่เผาแล้ว ส่งต่อๆ กันตอนทำพิธีเก็บกระดูกเท่านั้น ดังนั้นถ้าต้องการ จะตักอาหาร ให้กันก็จะวางไว้ในจานให้เลย
  • เมื่อจะหยิบอาหารจากจานรวม ก็จะใช้ตะเกียบกลาง หรือใช้ปลายอีกด้านของ? ตะเกียบของตนเองคีบอาหารจากจานรวมมาใส่จานของตนเอง
  • การรับประทานอาหารก็สามารถส่งเสียงดังได้ เพราะการกินเสียงดัง หมายถึง อาหารนั้นอร่อย สามารถซดน้ำซุปเสียงดังๆ ก็ได้ไม่ต้องอาย
  • 6 มารยาทการทักทายสำหรับคนญี่ปุ่นถือว่าการทักทายเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะว่าคนญี่ปุ่นจะมีคำพูดทักทายอยู่มากมายทุกสถานการณ์ โดยเริ่มตั้งแต่ตื่นนอน จนกระทั่งนอน เช่น ก่อนลงมือ รับประทานอาหารก็จะพูดว่า itadakimasu ซึ่งหมายถึง จะลงมือทานแล้วนะ

    เมื่อทานอิ่มแล้วก็จะพูดว่า goshisosama de X a หมายถึง ขอบคุณสำหรับอาหารมื้อนี้ และเมื่อจะออกจากบ้าน ก็จะพูดว่า Itte kimasu (จะไปแล้วนะ)

    สำหรับคนที่อยู่บ้านก็จะพูดว่า Itterasshai (ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ) และเมื่อต้องการจะขอตัวกลับบ้านก่อน ก็จะพูดว่า Osaki ni X sureishimasu. (ขอตัวกลับก่อนนะคะ)

    ส่วนคนที่ยังทำงานอยู่ก็จะพูดว่า Otsukarema X a (ขอบคุณที่ทำงานมาด้วยความเหน็ดเหนื่อย) เมื่อกลับมาถึงบ้านก็จะพูดว่า Tadaima (ยินดีต้อนรับกลับบ้าน) ส่วนคนที่อยู่บ้านก็จะพูดว่า Okaerinasai (ยินดีต้อนรับกลับบ้าน)

    7 มารยาทการขึ้นลงบันได1308371674_2
    เวลาขึ้นลงบันไดตามสถานนีรถไฟจะต้องยืนอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง ถ้าอยู่ในโตเกียว ก็จะยืนฝั่งขวา ส่วนในเกียวโตจะยืนอยู่ซ้าย และจะไม่ยืนอยู่ตรงกลางบันไดเพราะ จะเป็น การเกะกะ ผู้อื่น ที่ต้องการจะรีบ (คนไทยมักติดนิสัยแบบนี้ ไปเที่ยวที่ญี่ปุ่นอย่าลืม เว้นทางเดินตรงกลางนะ)-1-638

    8 การโค้งคำนับ
    ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “โอจิงิ” คนญี่ปุ่นเมื่อพบกันก็โค้งคำนับ และเมื่อจากกันก็โค้งอีก แม้แต่การแสดงความเคารพก็ยังต้องโค้ง ขนาดกำลังคุยโทรศัพท์แล้ว แนะนำตัวเองยังโค้งให้กับโทรศัพท์ การโค้งคำนับของคนญี่ปุ่นถือว่าเป็นประเพณีที่ใช้กันทั่วไป โดยการโค้งคำนับนั้นมีหลายแบบตามความเหมาะสม และกาละเทศะ ในยุคศักดินา การไม่โค้งคำนับถือเป็นความผิดฉกรรจ์ แม้แต่โค้งไม่ถูกต้องก็จะเป็นโทษหนักซามูไรสามารถฆ่าได้ทันที

    9การทิ้งขยะ
    ที่ญี่ปุ่นจะมีการแยกประเภทของขยะออกเป็น ประเภทที่เผา หรือทำลายได้ ประเภทที่เผาไม่ได้ และประเภทที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ อย่างเช่นขวดพลาสติกหรือขวดแก้วเพราะฉะนั้น เวลาทิ้งจำเป็นจะต้องนำมาทิ้งในวันที่กำหนด หากจะกำจัดข้าวของชิ้นใหญ่มากๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ จะต้องโทรเรียก เจ้าหน้าที่เขตมาขนย้ายไปซึ่งต้องเสียเงินซึ่งทำได้โดยการซื้อตั๋วก่อนและนำตั๋วนั้นมาติดที่สิ่งของที่จะทิ้ง เช่น เครื่องใช้ต่างๆ ที่ไม่ใช้แล้ว จำพวก โต๊ะ เก้าอี้ ชั้นวางของ ฯลฯ ที่ไม่ใหญ่มากนัก สามารถเอามาไว้ที่จุดทิ้งขยะในวันที่กำหนด และเราสามารถหาซื้อตั๋วนี้ได้จากร้านขายของสะดวกซื้อทั่วไป แต่ถ้าหากสภาพของที่จะทิ้ง นั้นยังมีสภาพ ดีอยู่ก็อาจจะมีคนเก็บไปใช้ต่อซึ่งเรื่อง นี้คนญี่ปุ่น ถือว่า เป็นเครื่องปกติ

    118_20131118160414.

    10 การอาบน้ำในห้องอาบน้ำสาธารณะ
    เนื่องจากบ้านพักในญี่ปุ่นบางที่จะไม่มีห้องอาบน้ำในตัว จึงต้องออกไป อาบน้ำข้างนอก สภาพของห้องอาบน้ำก็จะเป็นห้องโล่ง ทุกคนใช้ร่วมกัน คนญี่ปุ่นถือว่าการอาบน้ำร่วมกับคนอื่น ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ในสมัยนี้น้อยลง ซึ่งการอาบน้ำสาธารณะแบบนี้เรียกว่า “Sento” ที่มีอยู่ตามหมู่บ้านและจะราคาถูกกว่า Onsen และเราจะ ต้องเตรียมอุปกรณ์ในการอาบน้ำไปเองทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น สบู่ ยาสระผม และเมื่อเดินทางไปใช้ชีวิตในญี่ปุ่น แล้วขอแนะนำให้ลองไปอาบน้ำพุร้อนหรือที่ เรียกว่า Onsen ก็จะคล้ายกับการไป Onsen แต่จะต่างกันที่บรรยากาศเพราะการไป Onsen จะเป็นการเดินทางไปเที่ยวตาม ที่สถานที่ตากอากาศต่างๆ

    แต่สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงในการไปอาบน้ำในห้องอาบน้ำสาธารณะ โดยจะต้องชำระล้าง ร่างกายให้สะอาดก่อนลงไปแช่ตัว แต่จะต่างกันเพราะการไปคืออาบน้ำร่วมกัน และ Onsen จะเป็นบรรยากาศแบบธรรมชาติ ซึ่งนอกจากจะได้ศึกษาวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของ ชาวญี่ปุ่นแล้ว ยังได้ผ่อนคลายอีกด้วย