บทที่3 คำทักทายภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

สวัสดีครับพบกับผม arm ภาษาญี่ปุ่นง่ายนิดเดียววันนี้เราจะมาเรียนคำทักทายที่คนญี่ปี่นใช้ในชีวิตประจำวันกันนะครับ

あいさつ(aisatsuคำทักทาย

1. はじめまして。ชื่อ です。どうぞ よろしく。

Hajimemashite.  ชื่อเรา desu. Douzo yoroshiku.

อ่านว่า ฮะจิเมะมาชิเตะ  (ชื่อเรา) เดส โด้โซะ โยะโระชิคุ

    แปลว่า ยินดีที่ได้รู้จัก ฉันชื่อ …. ครับ/ค่ะ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ/ค่ะ

2. おはよう ございます。

Ohayou gozaimasu.

อ่านว่า โอะฮาโย โกไซอิมัส

แปลว่า สวัสดีตอนเช้า

3.こんにちは。

Konnichiwa

อ่านว่า คอนนิจิวะ

แปลว่า สวัสดีตอนบ่าย

4.こんばんは。

Konbanwa

อ่านว่า คอนบังวะ

แปลว่า สวัสดีตอนกลางคืน

5.おやすみなさい。

Oyasuminasai.

อ่านว่า โอะยะซุมินะไซ

แปลว่า ราตรีสวัสดิ์

6.ありがとう ございます。

Arigatou gozaimasu.

อ่านว่า อะริกะโต่ โกะไซอิมัส

แปลว่า ขอบคุณมากครับ/ค่ะ

7.どういたしまして。

Douitashimashite.

อ่านว่า โดอิตะชิมะชิเตะ

แปลว่า ไม่เป็นไรครับ/ค่ะ

8.あついですね。

Atsuidesune.

อ่านว่า อะซึ่ย เดสเนะ

แปลว่า ร้อนจังนะครับ/ค่ะ

9.さむいですね。

Samuidesune.

อ่านว่า ซะมุ่ย เดสเนะ

แปลว่า หนาวจังนะครับ/ค่ะ

10.いいてんきですね。

Iitenkidesune.

อ่านว่า  อี้เตงกิเดสเนะ

แปลว่า อากาศดีจังนะครับ/ค่ะ

11.あめですね。

Amedesune.

อ่านว่า  อะเมะ เดสเนะ

แปลว่า ฝนจะตกนะครับ/ค่ะ

12.すみません/すいません。

Sumimasen/suimasen.

อ่านว่า  ซุมิมะเซง/ซุยมะเซง

แปลว่า ขอโทษนะครับ/ค่ะ

13.ごめんなさい。

Gomennasai.

อ่านว่า  โกเมงนาไซ

แปลว่า ขอโทษนะครับ/ค่ะ

14.すみません.もう いちど おねがいします。

Sumimasen. Mouichido onegaishimasu.

อ่านว่า ซุมิมะเซง โม่อิจิโดะ โอะเนไกชิมัส

แปลว่า ขอโทษนะครับ รบกวนขออีกครั้งหนึ่งครับ/ค่ะ

15.どうぞ こちらへ。

Douzo.kochira he

อ่านว่า โดโซะ โคะจิระเอ๊ะ

แปลว่า เชิญทางนี้เลยครับ/ค่ะ

16.どうぞ おはいり ください。

Douzo ohairi kudasai.

อ่านว่า โดโซะ โอะไฮริ คุดะไซ

แปลว่า เชิญเข้ามาด้านในเลยครับ/ค่ะ

17.ชื่อคน に よろしく。

ชื่อคน ni yoroshiku.

อ่านว่า (ชื่อคน) นิ โยะโระชิคุ

แปลว่า ฝากสวัสดี คุณ …. ด้วยนะครับ/ค่ะ

เห็นไหมครับว่าภาษาญี่ปุ่นง่ายนิดเดี่ยวทุกคนก็หัดพูดกันนะครับ

บทที่2 อักษรเสียงขุ่นอักษรเสียงควบ

สวัสดีครับพบกับผม arm ภาษาญี่ปุ่นง่ายนิดเดียววันนี้เราจะมาเรียนการอ่านออกเสียงเสียงขุ่นกับเสียงควบกันนะครับ

1 เสียงขุ่น

จะแบ่งออกเป็น 2 เครื่องหมายคือเครื่องเต็นเต็นกับมารุ

นอกจากตัวอักษรฮิรางานะ หลักๆ 46 ตัวแล้ว ยังมีพยัญชนะเสียงใหม่ 25 ตัว ที่เกิดจากการเติมเท็นเท็น (てんてん tenten)  และมารุ (まる maru) ในวรรค  か(ka-คะ), さ(sa-สะ), た(ta-ทะ), は(ha-ฮะ) เพื่อให้ได้อักษรตัวใหม่ที่มีเสียงต่างไปจากเดิม เพื่อนำไปประกอบเป็นคำใหม่ๆ ขึ้นมา

  • てんてん (tenten)  คือ ขีดเล็กๆ 2 ขีด บนพยัญชนะ
  • まる (maru)  คือ  วงกลมเล็กๆ บนตัวพยัญชนะ

    1.ตารางการเปลี่ยนเสียงอักษรฮิรางานะ

    วรรค か  (k) が  (ga) ぎ (gi) ぐ  (gu) げ  (ge) ご  (go)
    วรรค さ (s) ざ (za) じ (ji) ず  (zu) ぜ (ze) ぞ (zo)
    วรรค た   (t) だ (da) ぢ (ji) づ (zu) で (de) ど (do)
    วรรค は (h) ば (ba) び (bi) ぶ (bu) べ  (be) ぼ (bo)
    วรรค は (h) ぱ (pa) ぴ (pi) ぷ (pu) ぺ  (pe) ぽ (po)

    2.ตารางการเปลี่ยนเสียงอักษรคาตาคานะ

    วรรค カ   (k) ガ  (ga) キ (gi) グ  (gu) ゲ  (ge) ゴ  (go)
    วรรค サ (s) ザ (za) ジ (ji) ズ (zu) ゼ (ze) ゾ (zo)
    วรรค タ  (t) ダ (da) ヂ (ji) ヅ (zu) デ (de) ド (do)
    วรรค ハ  (h) バ (ba) ビ (bi) ブ (bu) ベ  (be) ボ (bo)
    วรรค ハ  (h) パ (pa) ピ (pi) プ (pu) ペ  (pe) ポ (po)

    *เสียงเหมือนกัน (ส่วนใหญ่จะใช้คำในวรรคสะ じ/ジ 、 ず/ヅ )
    จะมีเฉพาะอักษรในวรรคฮะ (h) ที่เติมได้ทั้งเต็นเต็น และมารุ

    2 เสียงควบ

    เสียงควบจะออกเสียงยากนิดหนึ่งนะครับการออกเสียงควบ(ตัวอักษรกึ่งสระ)ในภาษาญี่ปุ่นคำควบในภาษาญี่ปุ่น

  • เป็นการนำคำในวรรคยะ คือ  や (ya-ยะ), ゆ (yu-ยุ), よ (yo-โยะ) ไปต่อท้ายเสียงในแถวสระอิ (い)ในคำ  き し ち に ひ み り และกลุ่มเสียงขุ่นและกึ่งขุ่น(คำที่เติมเท็นเท็นและมารุ)  โดยเขียนเป็นตัวเล็ก ทำให้ได้เสียงออกมาต่างๆดังในตารางต่อไปนี้
    1. การเติม や (ya-ยะ), ゆ (yu-ยุ), よ (yo-โยะ) ไปต่อท้ายเสียงสระอิ (い)ในคำ   き し ち に ひ み り
    ki-คิ きゃ kya-เคียะ きゅ kyu-คิว/คู きょ kyo-เคียว
    shi-ชิ  しゃ sha-ชยะ  しゅ shu-ชิว/ชู  しょ sho-โชะ
    chi-จิ ちゃ cha-จระ ちゅ chu-จิว/จู ちょ cho-โจะ
    ni-นิ にゃ nya-เนียะ にゅ nyu-นิว/นู にょ nyo-เนียว
    hi-ฮิ ひゃ hya-เฮียะ ひゅ hyu-ฮิว/ฮู ひょ hyo-เฮียว
    mi-มิ みゃ mya-เมียะ みゅ myu-มิว/มู みょ myo-เมียว
    ri-ริ りゃ rya-เรียะ りゅ ryu-ริว/รู りょ ryo-เรียว

    2. การเติม や (ya-ยะ), ゆ (yu-ยุ), よ (yo-โยะ) ต่อท้ายเสียงสระอิ (い) ในกลุ่มเสียงขุ่นในคำ ぎ じ ぢ び 

    gi-กิ ぎゃ gya-กิ/งิ ぎゅ gyu-งิว/งู ぎょ gyo-เงียว
    ji-จิ じゃ ja-จยะ/ญะ じゅ ju-จิว/จู じょ jo-โจะ/โญะ
    ji-จิ ぢゃ ja ぢゅ ju ぢょ jo
    bi-บิ びゃ bya-เบียะ びゅ byu-บิว/บู びょ byo-เบียว

    3. การเติม や (ya-ยะ), ゆ (yu-ยุ), よ (yo-โยะ) ต่อท้ายเสียงในแถวสระอิ (い) เสียงขุ่นในคำ ぴ

    pi-ปิ ぴゃ pya-เปียะ ぴゅ pyu-ปิว/ปู ぴょ pyo-เปียว
    ขอให้เพื่อนๆจดจำการออกเสียงควบให้ดีนะครับถ้าเพื่อนๆพยายามก็จะเก่งภาษาญี่ปุ่นพบกันให้ครับ
    กับผม arm ภาษาญี่ปุ่นง่ายนิดเดี่ยว
     banner                tuzuku

บทที่1 ตัวอักษรพื้นฐานในภาษาญี่ปุ่น

ตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่นมี 3 ชนิด ประกอบด้วย

1 ฮิรางานะ (Hiragana)
ประกอบด้วยตัวอักษรทั้งสิ้น 46 ตัว แต่ละตัวจะมีเสียงอ่านในตัวอักษรนั้น เช่น に(ni) ほ(ho) ん(n) ซึ่งเมื่อเขียนต่อกันก็จะได้เป็น にほん(nihon) ซึ่งมีความหมาย คือ ญี่ปุ่น
ในการเรียนภาษาญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการแทนตัวอักษรญี่ปุ่นด้วยภาษาอังกฤษ (โรมาจิ) และเมื่อเริ่มคุ้นเคยแล้ว ก็จะเริ่มจำฮิรางานะ คาตาคานะ และคันจิ ต่อไปตามลำดับ

hiragana_05

2 คาตาคานะ (Katakana)
ประกอบด้วยตัวอักษร 46 ตัว เช่นเดียวกับฮิรางานะ และอ่านออกเสียงเหมือนกัน เพียงแต่มีวิธีการเขียนแตกต่างกับฮิรางานะเท่านั้น
คาตาคานะมักจะใช้แทนคำที่ทับศัพท์มากจากภาษาต่างชาติ เช่น テ(te) レ(re) ビ(bi) ซึ่งเมื่อเขียนต่อกันก็จะได้เป็น テレビ(terebi) ซึ่งเป็นการทับศัพท์และย่อให้กระชับจากคำว่าโทรทัศน์ (televison)

katakana_05

3 คันจิ (Kanji)
เป็นตัวอักษรจีน ซึ่งญี่ปุ่นได้ดัดแปลงบางส่วนให้กระชับขึ้น มีทั้งสิ้นประมาณ 5,000 ตัว แต่ที่ใช้โดยทั่วไปมีประมาณ 1,800 ตัว แต่ละตัวจะมีความหมายและวิธีอ่านออกเสียงเป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการฝึกฝนให้เชี่ยวชาญ ผู้ที่เริ่มศึกษาใหม่อาจจะตั้งเป้าหมายว่าจะจำตัวคันจิเบื้องต้นประมาณ 50-100 ตัว

261250__21032012113229

4 โรมาจิ (Romaji)
เป็นอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้แทนการเขียนอ่านด้วยภาษาญี่ปุ่น มีหลักเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจน จึงมีความสะดวกต่อชาวต่างชาติในการฝึกเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยการเขียนและอ่านด้วยอักษรโรมาจินี้

ถ้าทุกคนเข้าใจอักษรญี่ปุ่นพื้นฐานแล้วก็จะเข้าบทเรียนต่อไปภาษาญี่ปุ่นง่ายนิดเดียวครับ